การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องยึดหลักการว่าผู้เรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ดังนั้น
การจัดกระบวนการเรียนรู้จึงต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ฝึกทักษะกระบวนการคิด การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดการเรียนรู้โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกันและปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมการเรียนการสอนแบบต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
เทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อตอบสนองหลักการที่กล่าวข้างต้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ
ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
เทคนิคการจัดการเรียนรู้
1. การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนเป็นการฝึกให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยกระบวนการคิดหาเหตุผลหรือ
แนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเองโดยผู้สอนตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนใช้ความคิดหาวิธีแก้ปัญหาได้เอง
และสามารถนำการแก้ปัญหานั้นมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
1. เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสืบสวนสอบสวนความรู้หรือข้อเท็จจริงด้วยตนเอง
2. เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดหาเหตุผล
3. เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดเป็น
ทำเป็น แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรรู้แบบสืบสวนสอบสวน
ขั้นที่ 1 การสังเกต (Observation) หลังจากที่กำหนดประเด็นปัญหาแล้ว
ให้นักเรียนสังเกตสภาพการณ์หรือ
สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดปัญหา
พยายามนำความคิดรวบยอดเดิมมาแก้ปัญหาคิดหาเหตุผล
จัดลำดับความคิดในรูปแบบต่างๆ
ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับสภาพการณ์อันเป็นปัญหานั้น
ขั้นที่ 2 การอธิบาย (Explanation) นักเรียนจัดระบบความคิด ตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายความคิดรูปแบบต่าง ๆ
ในการแก้ปัญหา ทบทวนความคิด
และทำความเข้าใจปัญหานั้นๆ
ให้ชัดเจน
ขั้นที่ 3
การทำนาย (Prediction) เมื่ออธิบายความคิดรูปแบบต่างๆ
ในการแก้ปัญหาแล้วให้นักเรียนทำนายหรือ
พยากรณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อีกว่าเมื่อเกิดแล้วจะเกิดผลและแก้ไขอย่างไร
ขั้นที่ 4
การนำไปใช้และสร้างสรรค์ (Control and Creativity) นักเรียนสามารถนำเหตุผลและความเข้าใจในการแก้ปัญหาไปใช้ประโยชน์ให้กว้างไกลในชีวิตประจำวันได้
มีความคิดสร้างสรรค์และนำไปใช้ในสภาพการณ์อื่นๆ
ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
1. นักเรียนสามารถใช้ความคิด
สติปัญญาและประสบการณ์เดิมของตนเองอย่างมีอิสระ
2. ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนช่างสังเกต
มีเหตุผลไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่ตรวจสอบ
3. นักเรียนเกิดความเชื่อมั่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
ข้อสังเกตของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
1. ครูมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
เนื่องจากครูต้องป้อนคำถามให้กับนักเรียนเพื่อ
นำไปสู่การคิดค้นคว้า
2. ครูต้องให้โอกาสนักเรียนทุกคนอภิปราย
วางแผน และกำหนดวิธีการแก้ปัญหาเอง
3. ปัญหาที่กำหนดเพื่อสืบสวนสอบสวนไม่ควรยากเกินความสามารถของนักเรียนถ้าปัญหายากเกินไป
ครูต้องเตรียมการสำหรับการร่วมแก้ปัญหาไว้ด้วย
2. การจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน
(Committee Work Method)
การจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ
ความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันตามวิถีแห่งประชาธิปไตย
ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการทำงานนั่นคือส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
2. เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบวินัย
รู้จักทำหน้าที่เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
3. เพื่อฝึกทักษะในการแก้ปัญหาตามวิธีการวิทยาศาสตร์
มีการศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยปฏิบัติงานทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
4. เพื่อให้นักเรียนได้ทำงานตามความสนใจ
ความถนัด และความสามารถ
5. เพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรงในการทำงาน
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน
1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่ม
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่กำหนดความมุ่งหมายและวิธีการทำงานอย่างละเอียด
2. ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้
ได้แก่ บอกรายละเอียดของหนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ครูและนักเรียนประเมินผลการทำงาน
ในกรณีที่เป็นครูให้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการปฏิบัติงาน ในกรณีที่เป็นนักเรียนให้ร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานในกลุ่มตนเอง
โดยบอกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลที่ได้รับ และการพัฒนางานในโอกาสต่อไป
ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน
1. นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่
2. นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด
ความสามารถ และความสนใจของตนเอง
ข้อสังเกตของการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน
1. ถ้าครูเพิ่งเริ่มจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงานเป็นครั้งแรก
ครูควรดูแลนักเรียนใกล้ชิด เช่น ต้องดูแลให้นักเรียนทุกคนทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
นักเรียนผู้ที่เป็นหัวหน้ากลุ่มทำหน้าที่ประสานงานระหว่างสมาชิกในกลุ่มและนอกกลุ่ม รวมทั้งประสานงานกับครู
2. หน้าที่การเป็นหัวหน้ากลุ่ม
ควรหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันตามโอกาส เพื่อฝึกการเป็นผู้นำ และการเป็นผู้ตามที่ดี
3. การปฏิบัติกิจกรรมในกลุ่มควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด
ท่านสามารถดูตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมได้ที่นี่http://www.youtube.com/watch?v=sGtPhJ7waj8
3. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive
Method)
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย
เป็นการจัดการเรียนรู้จากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ หรือจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ นั่นคือ นักเรียนได้เรียนรู้ในรายละเอียดก่อนแล้วจึงสรุป
ตัวอย่างของการจัดการเรียนรู้แบบนี้ ได้แก่ ให้โอกาสนักเรียนในการศึกษาค้นคว้า สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบแล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นข้อสรุป
ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย
1. เพื่อให้นักเรียนได้ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สำคัญๆ
ด้วยตนเอง โดยการทำความเข้าใจความหมายแล้วจึงสร้างความสัมพันธ์ของความคิดให้แจ่มแจ้งก่อนที่จะนำมาสรุปกฎเกณฑ์
ครูผู้สอนมีหน้าที่ในการกระตุ้นและให้แนวทางการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน
2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการสรุปหลักเกณฑ์จากรายละเอียดอย่างมีระบบ
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย
1. ขั้นเตรียมนักเรียน
เป็นการเตรียมความรู้และแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนด้วยการทบทวน
ความรู้เดิม กำหนดจุดมุ่งหมาย และอธิบายความมุ่งหมายให้เข้าใจ
2. ขั้นเสนอตัวอย่างหรือกรณีศึกษาต่าง
ๆ ให้นักเรียนพิจารณาเปรียบเทียบสรุปกฎเกณฑ์ได้ การเสนอตัวอย่างควรเสนอหลาย ๆ ตัวอย่างให้มากพอที่จะสรุปกฎเกณฑ์ได้
3. ขั้นหาองค์ประกอบรวม
คือ การให้นักเรียนมีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบจาก
ตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์
4. ขั้นสรุปข้อสังเกตต่าง
ๆ จากตัวอย่างเป็นกฎเกณฑ์ นิยาม หลักการ ด้วยตัวของนักเรียนเอง
5. ขั้นนำข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์สิ่งที่ได้จากการทดลองหรือสิ่งที่เข้าใจไปใช้ในสถานการณ์อื่น
ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย
1. นักเรียนสามารถเข้าใจรายละเอียดและหาข้อสรุปได้อย่างแจ่มแจ้ง
ทำให้จดจำได้นาน
2. นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการคิดตามหลักการเหตุผล
และหลักวิทยาศาสตร์
3. นักเรียนเข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหาและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
ข้อสังเกตของการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย
1. ในการสอนแต่ละขั้น
ครูไม่ควรเร่งรัดเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน ควรให้โอกาสในการคิดอย่างอิสระ
2. ครูควรสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนที่ไม่เป็นทางการบ้างเพื่อลดความเครียดและความเบื่อหน่าย
3. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยจะให้ผลสัมฤทธิ์สูง
ถ้าครูทำความเข้าใจทุกขั้นตอนอย่างดีก่อนจัดการเรียนรู้
ท่านสามารถดูตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งอุปนัยได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=F3WQLxbfKMA
4. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive
Method)
การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มจากกฎเกณฑ์หรือหลักการ แล้วให้นักเรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน นั่นคือการฝึกทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผล
มีการพิสูจน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงอันมีที่มาจากหลักการ
ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
1. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาโดยยึดกฎ
สูตร และหลักเกณฑ์ต่างๆ
2. เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจในการทำงาน
ด้วยการพิสูจน์ให้ทราบข้อเท็จจริง
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
1. ขั้นอธิบายปัญหา
เป็นขั้นของการกำหนดปัญหาและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบในการแก้ปัญหา
2. ขั้นอธิบายกฎหรือหลักการเพื่อการแก้ปัญหา
เป็นการนำเอาข้อสรุปกฎเกณฑ์หรือหลักการมาอธิบายให้
นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา
3. ขั้นตัดสินใจ
เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกกฎ หรือหลักการ หรือข้อสรุปมาใช้ในการแก้ปัญหา
4. ขั้นพิสูจน์/ตรวจสอบ
เป็นขั้นการนำหลักฐานหรือเหตุผลมาพิสูจน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามหลักการนั้น
ๆ
ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
1. ใช้ได้กับการจัดการเรียนรู้เนื้อหาวิชาง่าย
ๆ เนื่องจากหลักการหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
จะสามารถอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจความหมายได้ดี เป็นการอธิบายจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย
2. เป็นการฝึกทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
และพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้
ข้อสังเกตของการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
1. ครูผู้สอนต้องศึกษากฎเกณฑ์
หลักการหรือข้อสรุปต่างๆ อย่างแม่นยำก่อนทำการสอน
2. ครูเป็นผู้กำหนดความคิดรวบยอดให้นักเรียน
จึงไม่ช่วยฝึกทักษะในการคิดหาเหตุผลและแก้ปัญหาด้วยตัวนักเรียนเองได้มากเท่าที่ควร
5. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion
Method)
การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย
เป็นการจัดการเรียนรู้โดยที่นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
การอภิปรายอาจกระทำระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน การจัดการเรียนรู้แบบอภิปรายจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น
พูดเป็น และสร้างเสริมความเป็นประชาธิปไตย
ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย
1. เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย
2. เพื่อฝึกทักษะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
3. เพื่อฝึกทักษะในการพูด
และการแสดงความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย
1. ขั้นนำเข้าสู่หัวข้อการอภิปราย
เป็นขั้นการกระตุ้นหรือเร้าความสนใจของนักเรียนให้มีความสนใจร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น
2. ขั้นอภิปราย
ในขั้นนี้ให้แบ่งนักเรียนเป็น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายผู้อภิปรายซึ่งอยู่หน้าชั้นเรียนกับฝ่ายผู้ฟัง ฝ่ายผู้อภิปรายประกอบด้วยประธานหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้เสนอปัญหา
สรุปประเด็นสำคัญ และนำการอภิปรายไม่ให้ออกนอกทาง ตัดบทสมาชิกที่ถกเถียงกัน
การนำเข้าสู่หัวข้อการอภิปราย ประธานจะต้องกล่าวแนะนำหัวข้อที่จะอภิปรายจากนั้นแนะนำสมาชิกผู้ร่วมอภิปรายแต่ละคน
ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย
1. ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น
และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2. พัฒนาสติปัญญาของนักเรียนด้านการคิดหาเหตุผล
3. ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียนเพื่อนำมาใช้ในการอภิปราย
4. ผู้เรียนสามารถนำวิธีการอภิปรายไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ข้อสังเกตของการจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย
1. หากผู้ดำเนินการอภิปรายไม่มีความสามารถในการอภิปราย
จะทำให้การอภิปรายไม่สัมฤทธิ์ผล และสิ้นเปลืองเวลามาก
2. หากการตั้งหัวข้อไม่ดีจะทำให้ไม่ได้ข้อสรุปของการอภิปราย
3. ครูผู้สอนต้องควบคุมให้การอภิปรายดำเนินไปตามหลักการที่ถูกต้อง เช่น ประธานต้องไม่ใช้ความคิดของตนเองชี้นำจนผู้ร่วมอภิปรายไม่ใช้ความคิดของตนเอง
http://www.youtube.com/watch?v=olTABvLfWLk
เป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ
จากปัญหาที่แก้ไขแล้ว นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องแสดงผลงานของตน
ข้อสังเกตของการจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือทดลอง
6. การจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
และทำความเข้าใจถึงปัญหา
เป็นขั้นในการกระตุ้นหรือเร้าความสนใจให้นักเรียนเกิดปัญหา
อยากรู้อยากเห็นและอยากกระทำกิจกรรมในสิ่งที่เรียน
หน้าที่ของครูคือการแนะแนวทางให้ผู้เรียนเห็นปัญหา
จัดสิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหาโดยมีนวัตกรรมต่างๆ ช่วย
2. ขั้นแยกปัญหา
และวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นนี้ครูและนักเรียนช่วยกันแยกแยะปัญหากำหนดขอบข่ายในการแก้ปัญหาและจัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังในการแก้ปัญหา ดังนี้
2.1 ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนและกำหนดวิธีการแก้ปัญหา
2.2 แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม
ให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบและทำงานตามความสามารถและความสนใจ
2.3 แนะนำให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มรู้จักแหล่งความรู้
เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหา
3. ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นการเรียนรู้ของนักเรียนเองโดยการกระทำจริงๆ
จึงเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้ความสามารถที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในขั้นนี้ครูมีหน้าที่
ดังนี้
3.1 แนะนำให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าใจปัญหารู้จักวิธีแก้ปัญหาและรู้จักแหล่งความรู้สำหรับแก้ปัญหา
3.2 แนะนำให้นักเรียนทำงานอย่างมีหลักการ
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผล
เป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ
จากปัญหาที่แก้ไขแล้ว นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องแสดงผลงานของตน
5. ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้
ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปและประเมินผลการปฏิบัติการแก้ปัญหาดังกล่าวว่ามีผลดีผลดีผลเสียอย่างไรแล้วบันทึกเรียบเรียงไว้เป็นหลักฐาน
ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์
1. นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและได้ร่วมปฏิบัติงานเป็นทีม
2. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
3. ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ
4. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดหาเหตุผลและมีการคิดอย่างเป็นระบบ
ข้อสังเกตของการจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์
1. ปัญหาที่นำมาใช้ต้องเป็นปัญหาที่เกิดจากนักเรียน
ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ครูกำหนดให้
2. ครูต้องยึดมั่นในบทบาทการทำหน้าที่ให้แนวทางในการคิดแก้ปัญหา
ไม่ใช่เป็นผู้ชี้นำความคิดของนักเรียน
7. การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
(Laboratory Method)
การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติหรือทำการทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง วิธีสอนแบบปฏิบัติหรือการทดลองแตกต่างจากวิธีสอนแบบสาธิต
คือวิธีสอนวิธีสอนแบบปฏิบัติหรือการทดลองผู้เรียนเป็นผู้กระทำ
เพื่อพิสูจน์หรือค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
ส่วนวิธีสอนแบบสาธิตนั้นครูหรือนักเรียนเป็นผู้สาธิตให้เห็นกระบวนการและผลที่ได้รับจากการสาธิตเมื่อจบการสาธิตแล้วผู้เรียนต้องทำตามกระบวนการสาธิตนั้น
ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
1. เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
2. เพื่อส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ตรงในการแก้ปัญหา
3. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแทนการจดจำจากตำรา
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
1. ขั้นกล่าวนำ
2. ขั้นเตรียมดำเนินการ
3. ขั้นดำเนินการทดลอง
4. ขั้นเสนอผลการทดลอง
5. ขั้นอภิปรายและสรุปผล
ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือทดลอง
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของการปฏิบัติการหรือทดลอง
2. เป็นการเรียนรู้จากการกระทำ
หรือเป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง
3. เสริมสร้างความคิดในการหาเหตุผล
4. เป็นการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
5. เป็นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสหลายด้าน
6. การปฏิบัติการหรือทดลอง
นอกจากช่วยเพิ่มความเข้าใจในการเรียนรู้แล้ว ยังทำให้นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจเรียนเพราะได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง
ข้อสังเกตของการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือทดลอง
1. ในการปฏิบัติการหรือการทดลองนั้น
ผู้เรียนทุกคนต้องมีโอกาสใช้เครื่องมือ
อุปกรณ์เท่าๆ กันจึงจะได้ผลดี ครูผู้สอนจึงต้องเตรียมอุปกรณ์ไว้ให้ครบครัน
2. ต้องมีการควบคุมความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ
3. ต้องมีเวลาในการเตรียมการสอนอย่างเพียงพอ
ได้แก่ การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์
4. ต้องใช้งบประมาณมาก
เนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้ในการทดลองมีราคาแพง หากไม่เตรียมการสอนที่ดีพอผลที่ได้จะไม่คุ้มค่า
5. ต้องกำหนดสัดส่วนจำนวนนักเรียนต่อพื้นที่ที่ปฏิบัติการหรือทดลองให้เหมาะสมโดยปกติแล้ววิธีเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือทดลองทำได้กับนักเรียนจำนวนน้อย
8. วิธีการสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)
ความหมายของการบรรยาย
คือกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการพูดบอกเล่า อธิบายเนื้อหาเรื่องราวที่ผู้สอนได้เตรียมการศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับฟัง อาจจะมีการจดบันทึกสาระสำคัญในขณะที่ฟังการบรรยายหรืออาจมีโอกาส ซักถามแสดงความคิดเห็นได้บ้างถ้าผู้สอนเปิดโอกาส วิธีจี้เหมาะกับผู้ฟังจำนวนมาก และผู้บรรยายมีความชำนาญในเรื่องนั้นๆ ต้องการนำเสนอเนื้อหาสาระจำนวนมากในลักษณะคมชัดลึก โดยใช้เวลาไม่มากนักจึงเป็นการเรียนรู้ที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เรียนที่มีจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระหรือความรู้จำนวนมาก ในลักษณะ คม ชัด ลึก พร้อมๆกันในเวลาที่จำกัด
2.เพื่อให้ความรู้ประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นความรู้ที่ค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
องค์ประกอบ
การจัดการเรียนรู้แบบบรรยายมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1.เนื้อหาสาระหรือข้อความที่ต้องงการให้เรียนรู้
2.การบรรยาย
3.ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
1.ขั้นเตรียมการ
- กำหนดจุดประสงค์
- ศึกษาภูมิหลังผู้เรียน
- เตรียมเนื้อหาสาระ
- กำหนดเค้าโครง จัดลำดับเนื้อหา
- เตรียมเทคนิคการสอน
- เตรียมสื่อประกอบการบรรยาย
- เตรียมการประเมินผล
2.ขั้นบรรยาย
- ขั้นนำ เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียน
- ขั้นอธิบาย เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ขั้นสรุป
3.ขั้นประเมินผลการเรียนรู้
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทดสอบหลังบรรยาย ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม
ข้อดี
1.เป็นวิธีการที่ให้ความรู้เนื้อหาสาระแก่ผู้เรียนได้มาก แต่ใช้เวลาน้อย
2.เป็นวิธีการที่สะดวกที่ใช้กับผู้เรียนจำนวนมาก
3.เป็นวิธีที่สะดวก ผู้สอนดำเนินการคนเดียว
4.เหมาะสมสำหรับเนื้อหาที่มีความซับซ้อนยุ่งยาก ผู้เรียนฟังการบรรยายแล้วเข้าใจมากกว่าการศึกษาด้วยตนเอง
ข้อจำกัด
1.เป็นวิธีที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เพราะต้องรับรู้เรื่องเดียวกัน
2.เป็นวิธีการที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้น้อยมาก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย
ทิศนา แขมมณี. 14วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2544.
สุวิทย์ มูลคำ.19วิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์,2545.
ยินดีด้วยนะครับ เสร็จงานไปแล้ว น่าอ่านมาก
ตอบลบ